ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ความรู้เกี่ยวกับสแตนเลส
dot
bulletความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสแตนเลส
dot
dot
bulletหม้อก๋วยเตี๋ยวไร้สารตะกั่ว
bulletลูกกรงสแตนเลสร้านทอง
bulletแผงกันน้ำsd
bulletเรือsd(เอื่ออาทร)
dot
dot
dot
dot
dot
เครื่องครัวสแตนเลสสำหรับรักษาอุณหภูมิ
dot
bulletตู้อุ่นอาหาร
bulletตู้เย็นยืน
bulletตู้เย็นนอน
bulletห้องเย็น
dot
Food Equipment อุปกรณ์ทำอาหาร
dot
bulletPreparing Equipments
bulletBar Mart and Pastry Equipment
bulletBeverage Equipments
bulletCooking Equipments
bulletUtensils & Specialty Equipments
dot
สินค้า (PRODUCT)
dot
dot
รถเข็นสแตนเลส
dot
bulletรถเข็นพร้อมชั้นวางแบบที่1
bulletรถเข็นพร้อมชั้นวางแบบที่2
bulletรถเข็นพร้อมชั้นวางแบบที่3
bulletรถเข็นสำหรับแขวนผ้า
dot
ครุภัณฑ์สแตนเลสทางการแพทย์
dot
bulletรถเข็นสเตนเลสทางการแพทย์
dot
งานสแตนเลส ผลิตพร้อม-ติดตั้ง
dot
bulletประตูสเตนเลส
bulletราวบันไดและราวกันตกสเตนเลส
bulletรั้วสเตนเลส
bulletสแตนเลสดัดใส่ช่องหน้าต่าง
bulletหลังคาสเตนเลสติดแผ่นโพลีฯ
bulletหู้มเสาและงานโชว์
bulletตู้จดหมายสเตนเลส
dot
ของใช้สเตนเลสในครัว
dot
dot
เว็ปไซด์กีฬา
dot
bulletชมรมฟุตบอลบางมด
bulletอาจารย์สุรัก ไชยกิตติ อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย เปิดสอนฟุตบอลเยาวชนสำหรับเด็ก
bulletศูนย์ฝึกฟุตบอล K.M ACADEMY
bulletความรู้เบื้องต้น และ การดูแลรักษาแสตนเลส
bulletหน้าเวปบอร์ด
bulletสำรองหน้าเวป




ความรู้เบื้องต้น และ การดูแลรักษาแสตนเลส


สแตนเลสคืออะไร (WHAT IS STAINLESS STEEL)

“สเตนเลส” หรือชื่ออย่างเป็นทางการ คือ “เหล็กกล้าไร้สนิม” เป็น ศัพท์ทั่วไปที่ใช้เรียกเหล็กใน กลุ่มที่มีความต้าน ทานการกัดกร่อนสูง สเตนเลสเป็นโลหะผสมระหว่างเหล็กและคาร์บอน ซึ่งส่วนประกอบจะมีปริมาณคาร์บอนต่ำ มีโครเมียม เป็นส่วนผสมหลัก ประมาณ 10.5 % หรือมากกว่าทำให้เกิดการสร้างฟิล์มโครเมียมออกไซด์ (chromium oxide film : CrO2 หรือเรียกว่า passive film)ที่มองไม่เห็นเกาะติด แน่นอยู่ที่ผิวหน้าทำให้เหล็กกล้า มีความต้านทานการกัดกร่อน ฟิลม์ปกป้อง นี้จะมีความบางเทียบเท่ากับวางกระดาษ 1 แผ่นบนตึกสูง 20 ชั้น ถ้าฟิล์มที่ผิวหน้านั้น ถูกทำลายไม่ว่าจากแรงกล สารเคมี หรือออกซิเจนที่มีอยู่ในบรรยากาศ แม้จำนวนน้อยนิดจะเข้าทำปฏิกิริยากับโครเมียม สร้างฟิล์มโครเมียมออกไซด์ทดแทน ขึ้น ใหม่ด้วยตัวมันเอง

สเตนเลส สามารถปรับปรุงคุณสมบัติในการต้านทานการกัดกร่อนและสมบัติอื่นๆที่ต้องการ ให้สูงขึ้นได้โดยการเพิ่ม ส่วนผสมของโครเมียมและเพิ่ม ธาตุอื่นๆเช่นโมลิบดิบนัม นิกเกิลและไนโตรเจนเข้าไป สเตนเลส มีอยู่มากกว่า 60 ชนิด

ด้วยคุณสมบัติที่ไม่เหมือนใคร เช่น ยากต่อการขึ้นสนิมเมื่อเทียบกับโลหะหรือวัสดุชนิดอื่นๆ ค่าบำรุงรักษาต่ำ ง่ายต่อการเชื่อมและการขึ้นรูป ระยะเวลาการใช้งานคุ้มค่ากับราคา และสามารถนำกลับมาใช้ได้ฝหม่ทั้งหมด จึงทำให้สเตนเลส เป็นโลหะที่ทรงคุณค่า คุณสมบัติและประโยชน์ใช้สอยที่ไร้ขีด จำกัด

    

ประเภทของสแตนเลส (TYPE OF STAINLESS STEEL)

เมื่อทราบถึงคุณสมบัติของสเตนเลสแล้ว การจะตัดสินใจเลือกใช้สเตนเลสควรจะทราบว่าสเตนเลสมีประเภท และแต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งโดยทั่วไปสเตนเลสแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ตามโครงสร้างคือ ออสเทนนิติค เฟอร์ริติค ดูเพล็กซ์ มาร์เทนซิติค และเหล็กกล้าชุบแข็งแบบตกผลึก

ตระกูลออสเทนนิติค (Austenitic) หรือที่รู้จักกันใน "ซีรี่ส 300" ซึ่งประมาณได้ว่า 70เปอร์เซนต์ของการผลิตสเตนเลสในโลกนี้เป็นสเตนเลสตระกูลออสเทนนิติค ที่ประกอบด้วยคาร์บอนอย่างน้อย 0.15 เปอร์เซนต์ มีส่วนผสมของโครเมียมอย่างน้อย 16 เปอร์เซนต์ และ นิกเกิล หรือซึ่งช่วยปรับปรุง คุณสมบัติในการขึ้นรูปประกอบและเพิ่มความทนทานต่อการกัดกร่อน บางเกรดจะมีแมงกานีสผสมอยู่ด้วย  โดยทั่วไปจะมีโครเมียน 18 เปอร์เซนต์ นิกเกิ้ล 10 เปอร์เซนตื และมักเรียกกันว่า 18/10 ซึ่งคล้ายกับ 18/0 และ 18/8 

ตระกูลเฟอร์ริติค (Ferritic) มีสมบัติดูดแม่เหล็ก มีโครเมียมเป็นธาตุผสมหลักระหว่าง 10.5-27 เปอร์เซนต์ บางเกรดผสมนิกเกิ้ลลงไปเล็กน้อย บางเกรดผสมโมลิบดินัม หรืออลูมิเนียม ไททาเนียม

ตระกูลมาร์เทนซิติค (Martensitic) เป็น ตระกูลที่มีความต้านทานการกัดกร่อนน้อยกว่าออสเทนนิติค และเฟอร์ริติค แต่มีความทนทานและแข็งแรงมากกว่า มีคุณสมบัติดูดแม่เหล็ก โดยทั่วไปจะมีส่วนผสมของโครเมียม 12 -14 เปอร์เซนต์ โมลิบดินัม 0.2-1 เปอร์เซนต์  มีนิกเกิ้ล 0-2 เปอร์เซนต์และมีคาร์บอนผสม อยู่ประมาณ 0.1-1 เปอร์เซนต์ ซึ่งสามารถชุบแข็งได้โดยการให้ความร้อนแล้วทำให้เย็นตัวอย่างรวดเร็วและอบ คืนตัว โดยทั่วไปจะรู้จักกันใน "ซีรี่ส -00"

ตระกูลดูเพล็กซ์ (Duplex) เนื่องจากมีโครงสร้างผสมระหว่าง โครงสร้างเฟอร์ไรต์และออสตไนต์ จึงทำให้มีความแข็งแรงมากกว่าออสเทนนิติคและมีความทนทานต่อการกัดกร่อนชนิด รูเข็ม ซอกอับ มีโครเมียมเป็นธาตุผสมอยู่ระหว่าง 19 ถึง 28 เปอร์เซนต์ โมลิบดินัมสูงกว่า 5 เปอร์เซนต์ และมีนิกเกิลน้อยกว่าตระกูลออสเทนนิติคใช้งานมากในสภาพแวดล้อมที่มีคลอไรด์ สูง

ตระกูลเพิ่มความแข็งโดยการตกผลึก  มีความต้านทานกการกัดกร่อนเทียบเคียงกับตระกูลออสเทนนิติค มีความแข็งแรงมากกว่าตระกูลมาร์เทนซิติค เกรด 17-4H ที่รู้จักกันทั่วไป มีโครเมียมผสมอยู่ 17 เปอร์เซนต์และมีนิกเกิล 4 เปอร์เซนต์ ทองแดง และไนโอเบียม ผสมอยู่ด้วย เนื่องจาก สเตนเลสชนิดนี้สามารถชุบแข็งได้ในคราวเดียว จึงเหมาะสำหรับทำแกน ปั๊มหัววาล์ว และส่วนประกอบของ อากาศยาน

เพิ่มเติม
ซีรีส 200 - ตระกูลออสเทนนิติคที่มีส่วนผสมของแมงกานีสสูง
ซีรีส 300- ตระกูลออสเทนนิติค
304- เป็นเกรดในตระกูลออสเทนนิติคที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย บางครั้งเรียก18/8
316- เป็นเกรดในตระกูลออสเทนนิติคที่ใช้กันอย่างแพร่หลายรองลงมา ใช้สำหรับเครื่องมือผ่าตัด อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยา บางครั้งเรียก "เกรดใต้น้ำ"เพราะ ทนทานการกัดกร่อนแบบคลอไรด์ได้ดี  
ซีรีส 400- ตระกูลเฟอร์ริติค
ซีรีส 500- โลหะที่มีส่วนผสมของโครเมียมและทนความร้อนได้สูง
ซีร๊ส 600- ตระกูลมาร์เทนซิติคที่เพิ่มความแข็งโดยการตกผลึก
630- รู้จักกันดีใน 17-4 หรือหมายถึงมีส่วนผสมโครเมียม 17 เปอร์เซนต์ นิกเกิ้ล 4 เปอร์เซนต์

ประโยชน์ของสแตนเลส (BENEFITS OF STAINLESS STEEL)

ประโยชน์ของสเตนเลส
การ เลือกใช้วัสดุในการประกอบชิ้นงานสำหรับผู้ประกอบการ ผู้ออกแบบหรือโปรดักซ์ดีไซน์ หรือแม้กระทั่งการนำวัสดุมา ใช้ใน บ้าน ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนจะพิจารณาทั้งข้อดีและข้อเสียของวัสดุนั้นๆ ลองมาพิจารณาดูกันว่าสเตนเลสดีอย่างไร

ทนทานต่อการกัดกร่อน
สเตนเลส ทุกตระกูลทนทานต่อการกัดกร่อน แต่จะแตกต่างกันไปตามส่วนผสมของโลหะ เช่น เกรดที่มีโลหะผสม ไม่สูง สามารถต้านทาน การกัดกร่อนในบรรยากาศทั่วไป ในขณะที่เกรดที่มีโลหะผสมสูงสามารถต้านทานการกัดกร่อน ในกรด ด่าง สารละลาย บรรยากาศคลอไรด์ ได้เกือบทั้งหมด

ความต้านทานต่ออุณหภูมิสูงและอุณหภูมิต่ำ
สเตนเลส บางเกรดสามารถทนความร้อนหรือ/และความเย็น รวมถึงการเปลี่ยนอุณหภูมิโดยฉับพลันได้ดี และด้วยคุณสมบัติพิเศษในการทนไฟ ทำให้มีการนำสเตนเลสไปใช้ในอุตสาหกรรมขนส่ง อุตสาหกรรม    ปิโตรเคมี อย่างแพร่หลาย

ง่ายต่องานประกอบ หรือแปรรูป
สเตนเลส ส่วนใหญ่สามารถ ตัด เชื่อม ขึ้นรูป ตบแต่งทางกล ลากขึ้นรูป ขึ้นรูปนูนต่ำได้ง่าย ด้วยรูปร่าง สมบัติ และลักษณะต่างๆของสเตนเลสช่วยให้ ผู้ผลิตสามารถนำสเตนเลสไปประกอบกับวัสดุอื่นๆได้ง่าย

ความทนทาน
คุณสมบัติ เด่นอีกประการหนึ่งของสเตนเลสคือความแข็งแกร่งทนทาน สเตนเลสสามารถเพิ่มความแข็งได้ด้วยการขึ้นรูปเย็น ซึ่งใช้เพื่อออกแบบงาน โดยลดความหนา น้ำหนักและราคา สเตนเลสบางเกรดอาจใช้ในงานที่ทนความร้อนและยังคงความ ทนทานสูง

ความสวยงาม
ด้วย รูปทรงและพื้นผิวที่หลากหลายรูปแบบที่สวยงาม ทำความสะอาดได้ง่าย ปัจจุบันสเตนเลสมีสีให้เลือกมากมายด้วย กรรมวิธีชุบเคลือบผิวด้วยเคมี ไฟฟ้าสามารถทำให้สเตนเลสมีผิวสีทอง บรอนซ์ เขียว เงิน และสีดำ ทำให้สามารถเลือก ประยุกต์ใช้สเตนเลสได้อย่างมากมาย นอกจากนี้ ความเงางามของ สเตนเลสในอ่างล้างจาน อุปกรณ์ประกอบอาหาร หรือ เฟอร์นิเจอร์ทำให้บ้านดูสะอาดและน่าอยู่อีกด้วย

ความปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ
การ ทำความสะอาด การดูแลรักษาสเตนเลส และมีความเป็นกลางสูงจึงไม่ดูดซึมรสใดๆ เป็นเหตุผลสำคัญที่สเตนเลสถูกนำมาใช้งานในงานโรง พยาบาล เครื่องครัว ด้านโภชนาการและด้านเภสัชกรรม เนื่องจากความทนทาน ต้องการการดูแลรักษาน้อย และค่าใช่จ่ายต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับระยะเวลาการใช้ งาน การใช้อุปกรณ์เครื่องครัวสเตนเลสใน บ้านเรือนให้ความรู้สึกถึงความปลอดภัยแก่ผู้ใช้

ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
สเตนเลสเป็นวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ และกว่า ของวัตถุดีที่ใช้ในการผลิตมาจากเศษเหล็ก

การใช้งานทั่วไป (GENERAL USAGE OF STAINLESS STEEL )

สเตนเลสตระกูลออสเทนนิติค เป็น สเตนเลสตระกูลที่นำมาใช้งานอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เครื่องครัว เครื่องใช้บนโต๊ะ อาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้า งานตกแต่งอาคาร งานสถาปัตยกรรม อุปกรณ์ในการผลิตเบียร์ หรือการผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและอาหารที่มีสมบัติต้านทานที่เกี่ยวข้องกับ ความสะอาดและสุขศาสตร์อนามัย เช่น เครื่องมือในโรงพยาบาล เวชภัณฑ์ สามารถใช้งานที่อุณหภูมิต่ำติดลบ สำหรับถังเก็บแก๊สเหลวและสามารถใช้งานที่ อุณหภูมิสูง เช่นทำท่อแลกเปลี่ยนอุปกรณ์ความร้อน ทำอุปกรณ์ควบคุมหรือกำจัดมลภาวะ และควันพิษ งานท่อ ถังเก็บ ภาชนะที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมและภาชนะ ความดันที่ใช้ในอุตสาหกรรมเคมี ปิโตรเคมี ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม อุตสาหกรรมเหมืองแร่ การผลิตเนื้อเยื่อกระดาษและกระดาษ อุปกรณ์ในตู้โดยสารรถไฟ รถเข็น อาหาร

สเตนเลสตระกูลเฟอร์ริติค เป็นตระกูลที่นิยมใช้มากที่สุดในงานอุปกรณ์ตกแต่งในอาคาร เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ช้อนส้อม มีด และเครื่องใช้ในครัว อ่างล้าง อุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน งานสถาปัตยกรรม เครื่องถ่ายความร้อนในกระบวนการผลิตและอุปกรณ์เครื่องใช้ในการผลิตอาหารนม แกนและถังปั่นในเครื่องซักผ้าและเครื่องล้างจาน นอกจากนี้สามารถนำไปใช้ในงานเรือเดินสมุทร ทำแผ่นดาดฟ้าเรือ ฝายน้ำล้น โซ่ในงานขนถ่ายสินค้า อุปกรณ์ ดูดฝุ่นและควัน เป็นต้น

สเตนเลตระกูลมาร์เทนซิติค สามารถนำไปใช้ในงานที่ต้องการความทนทานและมีความแข็ง เช่น ทำใบมีด เครื่องมือผ่าตัด ตัวยึด กระสวยหรือแกนเพลา หัวฉีด เพลา และสปริง โดยทั่วไปผลิตออกมาในรูปเป็นท่อนแบน แผ่น และงานหล่อ ตัวอย่าง สเตนเลสเกรดมาร์เทนซิติค ทั่วไป

สเตนเลสตระกูลดูเพล็กซ นำไปใช้ในการทำแผงและท่ออุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน อุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุ ถังเก็บ และถัง ความดันในบรรยากาศแวดล้อมของคลอไรด์ ที่มีความเข้มข้นสูง ตัวอย่างงานได้แก่ อุปกรณ์ หล่อเย็นด้วยน้ำทะเล การกลั่นน้ำทะเลให้บริโภคได้ อุตสาหกรรม หมักดอง เหมืองฉีดน้ำ อุตสาหกรรมน้ำมันและแก๊ส

 

 

การทำความสะอาดเหล็กกล้าไร้สนิม

(Cleaning of Stainless Steel)

 

                ปัจจุบัน เหล็กกล้าไร้สนิมได้ถูกใช้งานอย่างกว้างขวาง   เมื่อเราเข้ามาในเมืองแล้วลองเหลียวมองรอบๆ จะพบผลิตภัณฑ์จากเหล็กกล้าไร้สนิมที่ใกล้ตัวมากมาย เช่น  ที่พักผู้โดยสารตามป้ายรถประจำทาง  เสาตามห้างสรรพสินค้า  ราวบันไดตามตึกและลิฟท์ เป็นต้น     เหล็กกล้าไร้สนิมเหล่านี้จะสกปรกได้เมื่อเวลาผ่านไป   โดยความสกปรกมีตั้งแต่ผงฝุ่น  รอยนิ้วมือ  คราบมัน  สี ฯลฯ     ซึ่งทำให้ผิวเหล็กกล้าไร้สนิมหมอง สูญเสียความเงางาม และลดความต้านทานต่อการกัดกร่อนได้     สำหรับการใช้งานเหล็กกล้าไร้สนิมประเภทที่ต้องการความสะอาดสูงก็มีหลายด้าน เช่น ด้านที่เกี่ยวกับการหุงต้มอาหาร  ด้านยา  ด้านอากาศยานและนิวเคลียร์ เป็นต้น     เหล็กกล้าไร้สนิมจะสามารถใช้งานได้ดีที่สุดในสภาพที่สะอาด     ดังนั้น การทำความสะอาดจึงเป็นสิ่งจำเป็น

                บทความนี้จะกล่าวถึงการทำความสะอาดเหล็กกล้าไร้สนิมโดยเน้นที่การทำความสะอาดระหว่างการใช้งาน     โดยความถี่ในการทำความสะอาดจะขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง  เช่น  เกรดของเหล็กกล้าไร้สนิม  สภาวะแวดล้อมที่ใช้งาน  ประเภทผิวสำเร็จของเหล็กกล้าไร้สนิม  เป็นต้น

หมายเหตุ วิธีการทำความสะอาดที่จะกล่าวถึงต่อไปเป็นเพียงแนวทางทั่วๆ ไปเท่านั้น     ผู้ใช้งานควรทดสอบวิธีการทำความสะอาดกับชิ้นตัวอย่าง หรือบริเวณพื้นผิวเล็กๆ ในบริเวณที่ไม่เด่นก่อน   เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าไม่เกิดผลเสียหายตามมา     และสำหรับผิวสำเร็จเฉพาะควรได้รับคำแนะนำจากบริษัทผู้ขาย

 

ผิวสำเร็จของเหล็กกล้าไร้สนิม

                ผิวสำเร็จของเหล็กกล้าไร้สนิมนั้นนอกจากจะมีผิวที่ได้จากการรีด  ผิวจากการขัดลายเส้น  ผิวจากการขัดเงาละเอียดแล้ว   ยังมีผิวสำเร็จที่หลากหลายที่ใช้ในงานเชิงสถาปัตกรรม     ผิวสำเร็จบางแบบต้องการความระมัดระวังพิเศษในเรื่องของการทำความสะอาด และควรได้รับคำแนะนำจากผู้ขาย

 ผิวสำเร็จชนิดต่างๆ ของเหล็กกล้าไร้สนิมตาม JIS G 4305

ชนิดของผิว(Surface finish)

ลักษณะ

No.1

ผิวผ่านการรีดร้อน อบอ่อน ขจัดสนิมและกัดกรด (Descaling & Pickling) ผิวมีสีขาวเทา ค่อนข้างหยาบเนื่องจากผ่านการกัดกรดที่รุนแรง

2D

ผิวผ่านการรีดเย็น อบอ่อนและกัดกรด

2B

ผิวผ่านการรีดเย็น อบอ่อน กัดกรดและรีดปรับความเรียบผิว (skin pass rolling)

BA

ผิวผ่านการรีดเย็นและอบอ่อนในสภาพบรรยากาศควบคุมทำให้ผิวมีลักษณะมัน เงา

No.3

ผิวที่ผ่านการขัดด้วยวัสดุสำหรับขัดเบอร์ 100-120

No.4

ผิวที่ผ่านการขัดด้วยวัสดุสำหรับขัดเบอร์ 150-180

#240

ผิวที่ผ่านการขัดด้วยวัสดุสำหรับขัดเบอร์ 240

#320

ผิวที่ผ่านการขัดด้วยวัสดุสำหรับขัดเบอร์ 320

#400

ผิวที่ผ่านการขัดด้วยวัสดุสำหรับขัดเบอร์ 400

HL

ผิวผ่านการขัดละเอียดโดยมีรอยขัดเป็นเส้นต่อเนื่องคล้ายเส้นผม (Hair line)

 

                นอกจากนี้ยังมีผิวสำเร็จอื่นๆ ของเหล็กกล้าไร้สนิม เช่น

 

ตัวอย่างผิวสำเร็จอื่นๆ ของเหล็กกล้าไร้สนิม

 

ชนิดของผิว(Surface finish)

ลักษณะ

Mirror

ผิวจะเงาและสะท้อนดีมากได้จากการขัดด้วยวัสดุที่ละเอียดมาก

Distressed

ผิวที่มีลวดลายรอยขีด (scratch) ไม่เป็นระเบียบ (random)

Embossing

ผิวมีลวดลายนูนจากการรีด

Plating

ผิวเคลือบด้วยโลหะมีสีหรือเคลือบด้วยโลหะมีค่า

 

ขอขอบคุณบริษัท ไทย-เยอรมันโปรดักส์ (มหาชน) จำกัด ที่เอื้อเฟื้อตัวอย่างเหล็กกล้าไร้สนิม

 

การทำความสะอาดเหล็กกล้าไร้สนิม

                โดยทั่วไป เหล็กกล้าไร้สนิมจะต้านทานต่อการกัดกร่อนโดยการสร้างชั้นฟิล์มบางๆ ของโครเมี่ยมออกไซด์ที่แน่นและเสถียร (passive) ที่ผิว   ทำให้ออกซิเจนจากบรรยากาศยากที่จะเข้าไปทำปฏิกิริยากับเนื้อเหล็กใต้ผิวชั้นฟิล์ม  จึงต้านทานต่อการกัดกร่อน     อย่างไรก็ตาม เมื่อมีสิ่งสกปรกมาเกาะที่ผิว เช่น ฝุ่น หรือวัสดุอื่นๆ   จะขัดขวางขบวนการสร้างฟิล์มที่เสถียรและเกิดบริเวณที่อาโนดและคาโธด (เช่น เศษเหล็กจากเครื่องมือ (tool) ที่ใช้ขึ้นรูปเกาะติดผิวเหล็กกล้าไร้สนิมนั้นควรจะทำความสะอาดให้ออกไป) ทำให้เกิดการกัดกร่อน     เหล็กกล้าไร้สนิมสามารถทำความสะอาดได้ง่ายๆ หลายวิธีโดยไม่ต้องกลัวว่าผิวเนื้อโลหะจะหลุดออกเหมือนโลหะเคลือบอื่นๆ     นอกจากนี้ เรายังสามารถเลือกความหยาบหรือลวดลายบนพื้นผิว (ชนิดของผิวสำเร็จ) ตลอดจนการออกแบบให้สามารถทำความสะอาดได้ง่าย เช่น การทำความสะอาดโดยน้ำฝนตามธรรมชาติ (สำหรับการใช้งานภายนอก) ได้ด้วย

 

รูปแบบของสิ่งสกปรกบนพื้นผิว

                สิ่งสกปรกที่เกิดกับเหล็กกล้าไร้สนิมมีหลายรูปแบบ เช่น

                ฝุ่น  เหล็กกล้าไร้สนิมสามารถมีฝุ่นและดินมาเกาะได้   โดยสิ่งสกปรกมาจากหลายแหล่งโดยลมที่เราสัมผัสอยู่ทุกวัน     สิ่งสกปรกต่างๆ จะให้ผลต่างกันไปต่อความสวยงาม  การกัดกร่อน  และความยาก-ง่ายในการขจัดออก     บางอย่างสามารถขจัดออกได้ง่าย แต่บางอย่างต้องการสารทำความสะอาดที่มีประสิทธิภาพเฉพาะ     จึงจำเป็นที่จะต้องรู้ว่าสิ่งสกปรกที่เกิดขึ้นเป็นแบบไหน     บ่อยครั้งที่น้ำอุ่น / สบู่ / แอมโมเนีย / ผงซักฟอก ก็เพียงพอที่จะใช้ทำความสะอาดได้     โดยสามารถใช้ร่วมกับผ้านุ่ม หรือฟองน้ำ (หรือแปรงไนล่อน ถ้าสิ่งสกปรกเกาะแน่น) ในการทำความสะอาดก็ได้

ข้อควรระวัง - แปรงเหล็กกล้าทั่วไป หรือฝอยเหล็กกล้าไม่ควรใช้กับทำความสะอาดเหล็กกล้าไร้สนิมเนื่องจากอาจมีอนุภาคของเหล็กกล้าฝังที่เหล็กกล้าไร้สนิมแล้วทำให้เกิดสนิมได้

                หลังการทำความสะอาดควรใช้น้ำที่สะอาด ล้างตามด้วยเสมอ

                นอกจากนี้   สำหรับน้ำที่มีแร่หรือของแข็งเป็นองค์ประกอบจะทิ้งคราบน้ำไว้เมื่อแห้ง     การเช็ดผิวเหล็กกล้าไร้สนิมด้วยผ้าที่แห้งจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ

                รอยนิ้วมือและคราบบางๆ  เป็นผลจากการใช้งานตามปกติซึ่งพบทั่วไป     อย่างไรก็ตาม มันมักมีผลกระทบเพียงเรื่องความสวยงามและไม่ค่อยจะมีผลต่อความต้านทานการกัดกร่อน     รอยนิ้วมือและคราบบางๆ สามารถที่จะขจัดออกได้ง่ายโดยหลายวิธี เช่น รอยนิ้วมือที่อาจเป็นปัญหาสำหรับผิวที่ขัดมันหรือผิวสำเร็จชนิด bright finished นั้น สามารถขจัดออกได้ด้วยการเช็ดด้วยแอลกอฮอล์  thrichlorethylene หรือ acetone ล้าง (rinse) ด้วยน้ำที่สะอาด แล้วเช็ดให้แห้ง     อย่างไรก็ตาม มีผิวสำเร็จเฉพาะหลายผิวสำหรับเหล็กกล้าไร้สนิมถูกออกแบบมาเพื่อลดปัญหาเรื่องรอยนิ้วมือ  เข่น  ผิวมีลวดลายนูนจากการรีด (embossed) หรือผิวสำเร็จแบบ line pattern เป็นต้น

                น้ำมันและคราบมัน   น้ำมัน  อาจมีคราบมัน ขี้ผงและเศษโลหะอยู่ด้วย ทำให้ผิวสกปรกหลังผ่านงาน shop     สิ่งสกปรกเหล่านี้จะกัดกร่อนและอาจทำให้ผิวเหล็กกล้าไร้สนิมไม่สามารถรักษาความเสถียร (passive) ได้     ดังนั้น การขจัดออกเป็นครั้งคราวจึงเป็นสิ่งจำเป็น     เริ่มจากอาจลองใช้สบู่หรือผงซักฟอกกับน้ำในการทำความสะอาด     การทำความสะอาดอย่างง่ายๆ ทำโดยให้ตัวสารละลายให้สัมผัสกับผิวเหล็กที่จะทำความสะอาด   และปล่อยให้การละลายของสิ่งสกปรกเกิดขึ้น เช่น การกวนของชิ้นส่วนเหล็กกล้าไร้สนิมเล็กๆ ในถาดของสารละลาย     นอกจากนี้ การล้างผิวด้วย trichloroethylene หรือ ตัวทำละลายชนิด Non-halogented เช่น อะเซโตน (acetone) หรือแอลกอฮอล์ เช่น methyl alcohol, ethyl alcohol, methyl ethyl ketone, benzene, isopropyl alcohol หรือน้ำมันสน ก็สามารถใช้ได้ดี     จากนั้น จึงล้างออกด้วยน้ำสะอาดและเช็ดให้แห้ง

 

วิธีการทำความสะอาดเหล็กกล้าไร้สนิม

 คราบสกปรก

 วิธีทำความสะอาด

 

การทำความสะอาดประจำ

 

ใช้ฟองน้ำหรือผ้านุ่มชุบน้ำอุ่น หรือสารละลายของสบู่  แอมโนเนีย  ผงซักฟอก  เช็ด  แล้วล้าง (rinse) ออกด้วยน้ำสะอาด  และเช็ดให้แห้ง  สามารถใช้ได้กับทุกผิวสำเร็จ

 

รอยนิ้วมือและรอยเลอะ

 

 เช็ดถูด้วยแอลกอฮอล์  thrichlorethylene หรือ acetone  แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด แล้วเช็ดให้แห้ง

 

คราบชา-กาแฟ

 

ล้างด้วยโซดาไบคาร์บอเนตผสมน้ำ  แล้วล้างออกด้วยสบู่และน้ำ   จากนั้นล้างด้วยน้ำอุ่น แล้วเช็ดให้แห้งด้วยผ้านุ่ม

 

น้ำมันและคราบมัน

 

 ล้างด้วยสารละลายผงซักฟอกหรือ trichloroethylene อะเซโตน (acetone) หรือแอลกอฮอล์ เช่น methyl alcohol, ethyl alcohol, methyl ethyl ketone, benzene, isopropyl alcohol หรือน้ำมันสน    โดยอาจใช้ฟองน้ำหรือผ้านุ่มช่วยเช็ดในทิศทางของผิวสำเร็จ (polish lines)     แล้วล้างออกด้วยสบู่หรือผงซักฟอกและน้ำ   จากนั้นล้างด้วยน้ำที่สะอาดและเช็ดให้แห้ง

 

คราบสนิม

 

 แช่หรือทำให้ผิวเปียกด้วยสารละลายกรด oxalic ทิ้งไว้ 15-20 นาที   ล้างออกด้วยน้ำที่สะอาด และเช็ดให้แห้ง

 

สี

ล้างออกด้วยสารละลายสี (ใช้แปรงไนล่อนนุ่มๆ ขัด) แล้วลางออกด้วยน้ำที่สะอาด และเช็ดให้แห้ง

หมายเหตุ ตารางข้างบนเป็นข้อมูลเบื้องต้น สำหรับกรณีที่ยังไม่สามารถทำความสะอาดได้   อาจพิจารณาเลือกใช้วิธีทำความสะอาดโดยการใช้กรด หรือวิธีทางกลซึ่งควร       ปรึกษาผู้ขายเป็นกรณีๆ ไป

               - สำหรับการทำความสะอาดด้วยวิธีทางกล  วิธีใช้กรด Pickling และการเร่งให้เกิดชั้นฟิล์มป้องกัน (Passivation) ของเหล็กกล้าไร้สนิมสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก ASTM A380

 ข้อแนะนำเกี่ยวกับการใช้งานเหล็กกล้าไร้สนิม

 1)       สวมถุงมือหรือใช้ผ้าที่สะอาดป้องกันคราบหรือรอยนิ้วมือเมื่อต้องขนย้ายเหล็กกล้าไร้สนิม

 2)       หลีกเลี่ยงการใช้เศษผ้าที่เปื้อนน้ำมันหรือจารบีเช็ดผิวเหล็กกล้าไร้สนิม

 3)       ทำความสะอาดผิวที่เปิด (exposed) ของเหล็กกล้าไร้สนิมเป็นประจำ

 4)       การทำความสะอาดเหล็กกล้าไร้สนิมโดยการใช้กรดกัด (เช่น เพื่อขจัดสิ่งสกปรกประเภทโลหะ รอยเชื่อม และ heat-treating scales) นั้น (ASTM A380)  ไม่ควร     ใช้กับเพื่อ descaling เหล็กกกล้าไร้สนิมชนิดออสเตนนิติกที่สูญเสียโครเมี่ยม (sensitized austenitic stainless steels) หรือ เหล็กกล้าไร้สนิมชนิดมาร์เทนซิติก     ที่ผ่านการชุบแข็งหรือ บริเวณที่สัมผัสกับชิ้นส่วนเหล็กกล้าคาร์บอน

 5)      หลังจากทำความสะอาดควรล้าง (rinse) ผิวเหล็กด้วยน้ำสะอาดตาม

 6)       ควรหลีกเลี่ยงการทำความสะอาดด้วยตัวทำละลายที่มีคลอไรด์เป็นองค์ประกอบ

 7)      แม้แต่ผงขัดที่ละเอียดที่สุดก็สามารถสร้างรอยขีดข่วนแก่ผิวสำเร็จบางผิวของเหล็กกล้าไร้สนิมได้ สำหรับผิวประเภทที่ได้จากการขัด (polished finish)  การ      เช็ดทำความสะอาดควรทำในทิศทางเดียวกับรอยจากผิวสำเร็จ   ไม่ควรทำขวางรอยจากผิวสำเร็จ

 

  8)      ไม่ใช้ตัวทำละลายในบริเวณที่ปิด (closed space) หรือระหว่างการสูบบุหรี่

 







เรามุ่งมั่นพัฒนา เพื่อเพื่มมาตราฐานสินค้าและบริการ

 

บริษัท ศรีประดิษฐ์ สเตนเลส จำกัด

 

571/42-3 ซ.ประดู่ 1 ถนนเจริญราษฎร์ แขวงบางโคล่ เขตบางคอแหลม กทม.10120

 

โทรศัพท์ 0-26897990-1 , 0-22919233-4 แฟกซ์ 0-26897982-3

 

อีเมล์ : marketing@sdstainless.com

 

SRIPRADIT STAINLESS CO., LTD.

 

571/42-3 Pradoo1 Soi, Jaroenraj Rd. Bangklo,Bangkloleam Bkk.,10120.

 

TEL : 0-26897990-1 , 0-22919233-4  FAX : 0-26897982-3

 

e-mail: marketing@sdstainless.com